คุณกำลังมองหาอะไร?

ทความ การเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อีก 1 วิธี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.10.2563
0
0
แชร์
04
ตุลาคม
2563

การเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

สุดารัตน์  ธีระวร เรียบเรียง


ปกติในเม็ดเลือดแดงจะมี “ฮีโมโกลบิน” สารโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งในเวลาที่หายใจเข้า ฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงถ่ายออกซิเจนไปสู่รกเพื่อให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ของแม่และลูกในท้องทำหน้าที่ได้ตามปกติ ภาวะ เลือดจาง เกิดจากการที่ฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติ หรือมีเม็ดเลือดแดงปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี ซึ่งในช่วงตั้งท้องจะมีเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าในภาวะปกติ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง โดยระดับของฮีโมโกลบินในช่วงตั้งท้องจะค่อยๆ ลดลงอยู่ และจะกลับสู่ค่าปกติหลังคลอดลูกแล้วประมาณ ๖ สัปดาห์  ขณะตั้งครรภ์ต้องระวังไม่ให้ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า ๑๑ กรัมเปอร์เซ็นต์ เพราะจะทำให้เกิดภาวะเลือดจาง และหากเป็นมากก็จะอันตรายต่อแม่และลูกในท้อง สาเหตุที่พบส่วนใหญ่  ได้แก่
๑. ขาดธาตุเหล็ก

๒.  ขาดกรดโฟลิค เพราะกินอาหารไม่ครบถ้วน เช่น ไม่กินผักสด หรือพืชประเภทถั่ว
๓.    สูญเสียเลือดขณะตั้งครรภ์ เช่น มีภาวะรกเกาะต่ำ ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดเป็นระยะๆ
๔.   เป็นพาหะหรือมีพันธุกรรมแฝงของธาลัสซีเมีย โดยสถิติ คนไทยเป็นพาหะของโรคนี้กันค่อนข้างมาก
๕. มีความผิดปกติของไขกระดูก แต่โรคนี้พบได้น้อย


การ วินิจฉัยว่า เป็นภาวะโลหิตจางหรือไม่ ต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม หลังจากนั้นสูติแพทย์ก็จะรักษาอาการตามสาเหตุ ถ้าเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก เพียงแค่เพิ่มธาตุเหล็กให้คุณแม่ พัฒนาการของทารกในครรภ์ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายใน ๑ สัปดาห์

อาการของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จะหน้าซีด เหนื่อยง่าย เวียนหัวและเป็นลมบ่อยๆ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นไม่สม่ำเสมอและคลื่นไส้ เบื่ออาหาร
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางสูง  อาจทำให้แท้งและคลอดก่อนกำหนด หรือระยะการคลอดนาน เนื่องจากมดลูกบีบรัดตัวไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย หรือตกเลือดระหว่างคลอดอีกด้วย
จากการที่มีภาวะเลือดจางในขณะตั้งครรภ์  เลือดที่ไปเลี้ยงรกจะมีออกซิเจน น้อยกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนที่ส่งไปยังลูกมีน้อยกว่าจำนวนที่ควรได้รับซึ่งอาจทำให้เกิด อันตรายต่อลูกได้ คือ
๑.  ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูง
๒.   คลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักน้อย
๓.  ทารกเสียชีวิตในครรภ์
๔. ทารกคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต
๕.  ทารกที่เกิดมาเป็นโรคเลือดจาง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน