คุณกำลังมองหาอะไร?

ทความ ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.10.2563
27
0
แชร์
04
ตุลาคม
2563

การป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์

สุดารัตน์  ธีระวร เรียบเรียง

ก่อนตั้งครรภ์ ควรมีการตรวจเช็คร่างกายก่อนว่ามีภาวะเลือดจางหรือไม่ ถ้าเป็นเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กก็ควรกินอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อให้คุณหมอตรวจว่ามีภาวะเลือดจาง หรือไม่

ส่วนใหญ่แล้วแม่ท้องที่เลือดจางนานๆ ระหว่างตั้งครรภ์มักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ต้องกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กและวิตามินเสริม   กินตลอดระยะที่ตั้งครรภ์และ ๖  สัปดาห์หลังคลอด สำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ควรจะได้รับธาตุเหล็กไปจนถึง ๖  เดือนหลังคลอด เพื่อไม่ให้ร่างกายของแม่ขาดธาตุเหล็กและเกิดภาวะเลือดจาง รวมทั้งต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีโรคต่างๆ ที่อาจทำให้เสียเลือด ก็ควรรีบไปปรึกษาหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเสียเลือด

หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง ก็จำเป็นต้องเสริมธาตุเหล็กเช่นเดียวกัน การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามปกติ ไม่สามารถชดเชยธาตุเหล็กให้เพียงพอกับพัฒนาการของลูกในท้อง เพราะธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่ร่างกายดูดซึมได้น้อย เพียงร้อยละ 10 ของปริมาณที่กินเข้าไปเท่านั้น ควรกินวิตามินเสริมที่มีปริมาณธาตุเหล็กอย่างน้อย 60-70 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอ

อาหารที่หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานเพื่อเสริมธาตุเหล็กให้ร่างกาย

๑.   โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นอกเหนือจากเนื้อหมู ไก่ ไข่ และนมแล้ว หญิงตั้งครรภ์ควรกินปลาและอาหารทะเลสัปดาห์ละ ๒-๓   ครั้ง
.  โปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วต่างๆ และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร

.  ธัญพืช ผัก และผลไม้ เช่น ข้าวกล้อง จมูกข้าว แครอท แคนตาลูป ฟักทอง บร็อคโคลี ผักคะน้า
๔.  กินอาหารที่มีกากใยร่วมด้วย เพราะธาตุเหล็กจะทำให้ถ่ายยากและอุจจาระดำ

 

นอกจากการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กตามที่แพทย์แนะนำและการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก หญิงตั้งครรภ์ควรมาตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงทั้งในเรื่องของภาวะโลหิตจางและเรื่องอื่น ๆ  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมาค่ะ

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน